วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

Q-Business (Business Model) คืออะไร

Q-Business (Business Model) คือ

     Q-Business (Business Model) เป็นระบบคิวขนาดกลางที่เหมาะสำหรับสถานีที่มีบริการรองรับหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีตัวเลือก (Option) เพิ่มขึ้น สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ feature การประเมินผลความพึงพอใจการรับบริการ Business Concept เรื่องการแก้ปัญหาเรื่อง Queue โดยการทําของเล่นให้คนถือแล้วพอถึงคิวก็จะมีเสียงร้องดังปิ๊ปๆ ให้เดินกลับมาแล้ว แต่ที่แปลกใหม่ของ Queque คือ สามารถจองจากที่ไหนก็ได้แล้วให้มาในเวลาที่กําหนด ซึ่งเกิดจุดนี้ได้คงต้องไปคุยกับร้านอาหารไว้แล้วล่ะ ว่าเวลาขั้นตํ่าคือกี่นาทีด้วย ช่วยลดเวลาในการทำงานของร้านอาหารที่ต้องมาจัดการเรื่องคิวเอง ต่อไปก็เพียงแค่ใช้แอพพิเคชั่นตรวจสอบดู
ตู้ Kiosk

     นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการจองหรือจัดการลำดับคิวอีกด้วย อย่างเช่น ตู้ Kiosk ที่นอกจากเป็นตู้สำหรับแสดงโฆษณาแล้ว ยังพัฒนาเป็นตู้ Kiosk สำหรับแสดงคิวหรือลำดับการใช้บริการได้อีกด้วย เราจะเห็นได้ตามร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าทั่วไปที่มีลูกค้ามาใช้บริการมาก ๆ การใช้ตู้ Kiosk จะทำให้ภาพสินค้าหรือภาพอาหารดูสวยงามมากขึ้นด้วย และยังทำให้ลำดับคิวอย่างชัดเจนมากขึ้นด้วยนั่นเอง

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

Keypad แบบ 4×4 ปุ่ม มีระบการทำงานอย่างไร

   Keypad เป็นอุปกรณ์สำหรับการกดเรียกคิว ซึ่งจะทำงานร่วมกับระบบคิวอัตโนมัติ โดยระบบนี้ก็จะประกอบไปด้วย เครื่องกดบัตรคิว , และ Keypad นั่นเอง ไปดูกันว่า Keypad นั้นทำงานอย่างไร

การทำงาน Keypad แบบ 4×4 ปุ่ม

เครื่องกดบัตรคิว Keypad

    แป้นปุ่มกดหรือ Keypad เป็นอุปกรณ์สำหรับรับอินพุตจากผู้ใช้ มีลักษณะเป็นปุ่มกดหลายปุ่ม ถูกจัดเรียงกันในลักษณะเป็นอาร์เรย์ แบ่งเป็นแถวแนวนอน (Rows) และแถวแนวตั้ง (Columns) เช่น 3×4 (= 12 ปุ่ม) หรือ 4×4 (= 16 ปุ่ม) เป็นต้น แต่ละปุ่มก็จะมีสัญลักษณ์เขียนกำกับไว้ เช่น ตัวเลข 0-9, #, * เป็นต้น โดยปรกติ ถ้าต่อปุ่มกดแยกจำนวน 16 ตัว จะต้องใช้ขาสัญญาณทั้งหมด 16 ขา แต่ถ้าใช้การจัดเรียงแบบ 4×4 จะใช้ขาสัญญาณเพียง 8 ขา แต่ต้องมีเทคนิคในการตรวจดูว่า ปุ่มกดใดถูกกดบ้างในขณะนั้น วิธีการนี้เรียกว่า การสแกนปุ่มกด (key scan)
    การใช้งาน 4×4 Keypad ร่วมกับบอร์ด Arduino เพื่อคอยตรวจดูว่า (การสแกนปุ่มกด) ผู้ใช้ได้กดปุ่มใดบ้าง อุปกรณ์ที่ใช้เป็น 4×4 Keypad มีสายเชื่อมต่อและคอนเนกเตอร์จำนวน 8 ขา แบบตัวเมีย (Female) ถ้าต้องการเสียบขาลงบนเบรดบอร์ด ก็สามารถใช้ Pin Header ตัวผู้ เป็นตัวเชื่อมต่อได้ ขาทั้ง 8 นั้น ถ้ามองจากด้านหน้า (Front View) และนับจากซ้ายไปขวา จะเป็นขาหมายเลข 1-8 ตามลำดับ โดยที่ขา 1-4 จะเป็นขาสำหรับแถวแนวนอน (Rows) และขา 5-8 จะเป็นขาแนวตั้ง (Columns) ในการใช้งานร่วมกับบอร์ด Arduino จะต้องต่อตัวต้านทานแบบ Pull-up เช่น 1k ถึง 10k โอห์ม (เฉพาะ)ที่ขาแนวตั้งแต่ละขาด้วย รวมทั้งหมด 4 ตัว

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

โปรแกรมประมวลผลสำหรับ ระบบคิว ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบคิว เป็นระบบจัดการลำดับการเข้าบริการนั่นเอง ซึ่งตัวระบบนี้ก็จะต้องมีโปรแกรมสำหรับจัดการหรือประมวลผลด้วยนั่นเอง ไปดูกันว่าโปรแกรมระบบประมวลผลสำหรับระบบคิวนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง

โปรแกรมประมวลผลสำหรับ ระบบคิว ประกอบด้วย

ระบบคิว

- โปรแกรมแสดงผลและประมวล สามารถทำงานร่วมคอมพิวเตอร์จ่ายบัตรคิว(ติดตั้งโปรแกรมสำหรับจ่ายบัตรคิว)ได้ 1 เครื่อง
- ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์จ่ายบัตรคิวด้วยระบบไร้สาย ( TCP/IP ) ผ่าน WiFi ( Network WiFi หรือ Internet)
- แสดงลำดับคิวปัจจุบัน 3 แถว แสดงบนจอทีวี LCD และ บันทึกลงเซิร์ฟเวอร์ คราวด์ ( Cloud ) สำหรับการตรวจคิวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
- มีไฟล์พื้นหลังสำเร็จรูป ( Theme ) สามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลังได้
- มีระบบเล่นไฟล์มัลติมีเดีย ( วีดีโอ ) สามารถกำหนดจำนวนไฟล์ และ ลำดับ ไฟล์ได้เอง
- มีระบบเสียงเรียก ( เสียงพูด ) 2 ภาษา ทั้งภาษาไทย และ อังกฤษ
- มีระบบรายงานแสดงการให้บริการของพนักงานรายวันรายเดือน และ ปี สามารถสืบค้นจากรหัสพนักงาน ประเภทงาน ช่องบริการได้
- มีระบบแสดงตัวอักษรวิ่ง สำหรับแสดงข้อมูลสำหรับการประชาสัมพันธ์
- สคริปท์สำหรับการเก็บคิวออนไลน์